Learn English

ความหมายของ กริยา 3 ช่อง


กริยา 3 ช่อง
กริยา 3 ช่อง

กริยา 3 ช่อง คือ คำกริยาในภาษาอังกฤษที่ได้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ เพื่อใช้ในการบ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่างๆในแต่ละช่วงเวลาที่เกิดขึ้น 

เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำที่ใช้แสดงถึงอาการ เหตุการณ์ ของช่วงเวลาที่เกิดขึ้น เป็นคำพูดที่แสดงถึงการกระทำของประธานในประโยคนั้นๆ หรือ กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยคำกริยา เพราะว่าถ้าในประโยคขาดคำกริยา ก็จะทำให้ประโยคนั้นไม่สมบูรณ์ ความหมายอาจผิดเพี้ยนไป รวมถึงไม่สามารถทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็น อดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคตได้เลย เพราะว่าประโยคที่ไม่สมบูรณ์

คำกริยา แบ่งออกเป็น 3 ช่อง คือ


1. สหกรรมกริยา (Transitive Verb) คือ คำกริยาที่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ ถ้าหากเกิดไม่มีคำอื่นเข้ามา ความหมายจะไม่สมบูรณ์ เช่น The girl is playing a computer game at home. หมายความว่า เด็กผู้หญิงเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่บ้าน คำว่า “playing” เป็นคำกริยา บ่งบอกให้ทราบว่าในขณะนี้ กำลังเล่นเกมอยู่ ส่วนคำว่า “game computer” เป็นตัวกรรม หรือตัวทำหน้าที่รองรับคำกริยาให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะถ้าหากใช้คำว่า Playing อย่างเดียว จะไม่รู้ว่า กำลังเล่นอะไรอยู่ เป็นต้น

2. อกรรมกริยา (Intransitive Verb) คือ คำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกรรม เพราะว่ามันความหมายจะสมบูรณ์อยู่แล้ว เช่น The boy runs in the forest. ประโยคไม่ต้องมีตัวกรรม ก็ทำให้ประโยคสมบูรณ์ เพราะคำว่า “run” แปลว่า วิ่ง ความหมายจึงสมบูรณ์ครบถ้วน โดยที่ไม่ต้องมีตัวมาเติมเต็ม ซึ่งเรียกว่า อกรรมกริยา

3. กริยาช่วย (Helping Verb หรือ Auxiliary Verb) คือ กริยาที่มีหน้าที่ช่วยกริยาด้วยกันเอง และยังทำให้ตัวของตัวเองมีความหมายสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ช่วงเวลาของ กริยา 3 ช่อง 


กริยา 3 ช่อง เป็น คำกริยาในภาษาอังกฤษ ที่ได้มีการแบ่งออกเป็น 3 ช่อง เพื่อใช้บ่งบอกถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ 
กริยาช่องที่ 1 คือ ปัจจุบัน  หรือ Base Form 
กริยาช่องที่ 2 คือ อดีต หรือ Simple Past Tense
กริยาช่องที่ 3 คือคำกริยาที่ใช้ใน perfect tense ทุกชนิด และ passive voice. หรือ Past Participle

หลักการแบ่งกลุ่ม IRREGULAR VERBS (กริยาอปกติ)

ในภาษาอังกฤษจะมีการแบ่ง กริยา 3 ช่อง (irregular verbs) ออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1. All 3 forms are similar – กริยาทั้ง 3 ช่อง เหมือนกัน

2. Infinitive and Simple Past are similar – กริยาช่องที่ 1 และ ช่อง 2 เหมือนกัน (ต่างกันที่ช่อง 3)

3. Infinitive and past participle are similar – กริยาช่องที่ 1 และ ช่อง 3 เหมือนกัน (ต่างกันตรงช่องที่ 2

4. Simple Past and past participle are similar – กริยาช่องที่ 2 และ ช่อง 3 เหมือนกัน (ต่างจากช่องที่ 1)

5. All 3 forms are different – กริยาทั้ง 3 ช่อง ไม่เหมือนกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.